วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

นวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมการศึกษา
นวตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า “นว” หมายถึง ใหม่
“กรรม” หมายถึง การกระทำเมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ ๆ ซึ่งในที่นี้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้
ทอมัส ฮิวช์ (Thomasl Hughes, 1971 อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 13) ได้ให้ความหมายของ คำว่า นวกรรมว่า “เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า นวกรรม (Innovation)”
มอตัน (Morton, J.A. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 13) ได้ให้นิยามของนวกรรมไว้ในหนังสือ Organising for Innovation ของเขาว่านวกรรม หมายถึงการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
ไมล์ แมทธิว (Miles Matthew B. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 14) ได้กล่าว
ถึง นวกรรมไว้ในเรื่อง Innovation in Education ว่า “นวกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล”
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้กล่าวไว้ว่า นวกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้
ใหม่เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น




วสันต์ อติศัพท์ (2523 : 15) กล่าวไว้ว่า นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง “นว” และ “กรรม” ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น นวกรรมทางการแพทย์ หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ตลอดจนแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวกรรมการศึกษาก็หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา
กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิ-ภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา

หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันแต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น นวัตกรรมไว้ดังนี้
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม


บทสรุป คอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่มีการพัฒนาและนำมาใช้อย่างมากที่สุด ในช่วงระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา มีการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ในระบบบริหารและช่วยสอนอย่างมากมาย แต่เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ บทเรียนที่มีคุณภาพและบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงยังคงต้องได้รับความเอาใจใส่ และพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในทุกด้าน
สรุป
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปความคิด การกระทำ หรือทฤษฏีทางการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น





ข้อดี/ประโยชน์ของนวตกรรมสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
1) ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนช้าหรือเร็วได้ ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนรายบุคคลที่ดียิ่ง ดังนั้นผู้เรียนจะใช้เวลาเรียนแตกต่างกัน ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
2) ไม่จำกัดสถานที่เรียน ผู้เรียนไม่จำเป็นจะต้องมายังสถานศึกษา ผู้เรียนอาจจะเรียนอยู่กับบ้านผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
3) สามารถเรียนจากสื่อประสม (Multi media) ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนสามารถอ่านข้อความ ดูรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว (animation) วีดิทัศน์ (Video) และฟังเสียงได้
4) การทราบผลการเรียนทันที คอมพิวเตอร์สามารถแจ้งและบันทึกผลการปฏิบัติได้ทันที ทำให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความเข้าใจของตนเองว่าถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ขยายความเข้าใจในเนื้อหา
บทเรียนด้วยการ





-







จุดด้อยของนวตกรรม(CAI)สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

ในการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนนั้น มีข้อจำกัดบางประการ ทำให้เกิดปัญหาในการนำมาใช้ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1) ขาดซอฟแวร์บทเรียนที่มีคุณภาพ เนื่องจากการผลิตซอฟแวร์บทเรียนที่เหมาะสมและมีคุณภาพจำเป็นต้องอาศัยทั้งโปรแกรมเมอร์ นักเทคโนโลยีการศึกษา และนักประเมินผลดังนั้นบทเรียนที่มีอยู่โดยทั่วไปจึงด้อยคุณภาพ ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียนแก่ผู้เรียน
2) ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรม ดังนั้น จึงขาดบุคลากรที่มีความรู้ทั้งการใช้ การผลิตซอฟแวร์ ตลอดจนผู้วางระบบการใช้งานของคอมพิวเตอร์ทำให้ภาพที่ใช้ไม่เหมาะสมกับการเรียนการสอน
3) ครุภัณฑ์มีราคาสูง แม้จะมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ไปอย่างมากจนทำให้ราคาต่ำลงกว่าเมื่อหลายปีที่ผ่านมาแต่ราคาก็ยังคงสูง และค่าบำรุงรักษาค่อนข้างแพง ดังนั้นสถานศึกษาโดยทั่วไปจึงยังคงมีปัญหา
4) การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนนั้นยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน